“ปัญหาขยะพลาสติก” ล้นเมือง ถ้าจัดการได้ดีก็มีทางออก

17-09-2020 13:09:52


เข้าใจ ปัญหาพลาสติก ที่เกิดในประเทศไทย

               ปัญหาพลาสติกล้นเมืองในประเทศไทยเกิดจาก 2 อย่างคือ หนึ่ง เกิดจากใช้พลาสติกในประเทศเอง โดยสาเหตุของปัญหามาจากการไม่แยกขยะ ทำให้ไม่สามารถรีไซเคิลได้หรือมีต้นทุนสูงเกิดไปในการรีไซเคิล สอง เกิดจากการนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศ โดยที่รัฐบาลไทยมีมุมมองส่งเสริมอุตสาหกรรม และการเปิดให้อุตสาหกรรมรีไซเคิลสร้างโรงงานกำจัดขยะเหล่านี้ แต่ไม่มีการควบคุมที่ดี รวบถึงหลายประเทศที่เคยนำเข้าขยะพลาสติก ได้ปฏิเสธการนำเข้า ไทยจึงรับภาระที่หนักขึ้น เราไม่สามารถจัดการกับขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลได้เกิดการปนเปื้อน      เมื่อเรารู้สาเหตุอย่างนี้แล้ว ทางออกก็ไม่ไกลเกินเอื้อม ลองไปดูกรณีศึกษาของต่างประเทศเพื่อไปเป็นไอเดียกับการจัดการขยะของเราดีกว่า

 

ต่างประเทศจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร

นโยบายเริ่มต้นที่ตัวเรา

·       ประเทศสวีเดนเป็นต้นแบบโครงการคัดแยกขยะ เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน โดยที่ขยะกว่า 90% จะถูกนำกลับมาใช้ซ้ำได้ สำหรับใครก็ตามไปซื้อของที่ร้านค้าและขอรับถุงจะถูกคิดเงิน 1 โคนาสวีเดนเมื่อนำถุงกลับมาคืนก็จะได้เงินคืน เพราะไม่อยากให้ถุงใบนั้นถูกทิ้งเป็นขยะ เช่นเดียวกันกับขวดพลาสติก หากนำไปที่ร้านค้าก็จะได้รับเงินคืน ส่วนขยะพลาสติกที่ไม่สามารถใช้ซ้ำได้แล้วจะถูกแปรสภาพให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษใด ๆ

·       จีน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก จึงมีอัตราการใช้ถุงพลาสติกค่อนข้างสูงตามไปด้วย แต่ในปี 2008 รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งห้ามร้านค้าและห้างสรรพสินค้าแจกถุงพลาสติก ให้กับลูกค้า แต่ถ้าลูกค้าต้องการถุงพลาสติกให้คิดค่าธรรมเนียม ซึ่งมาตรการดังกล่าวทำให้จีนลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึง 40,000 ล้านใบ

นโยบายเริ่มจากกลุ่มธุรกิจและร้านค้า

·       ประเทศเดนมาร์ก เป็นประเทศตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการลดการใช้พลาสติก ในปี ค.ศ. 2003 โดยมีการเก็บภาษีถุงพลาสติกจากผู้ค้าปลีกเพื่อกดดันให้ร้านค้าปลีกคิดค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกกับลูกค้า และยังกระตุ้นให้ผู้บริโภคทั่วไปใช้ถุงที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ทำให้ประเทศเดนมาร์กลดการใช้ถุงพลาสติกจากเดิมได้ถึง 66%

·       ประเทศอังกฤษ ดำเนินการนโยบายเก็บภาษีถุงพลาสติก และห้ามใช้พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง ในปี ค.ศ. 2015 อังกฤษได้เริ่มเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกจากผู้บริโภคในร้านค้าใหญ่ ๆ รวมทั้งขวดพลาสติก หลอดพลาสติกทำให้ลดขยะในประเทศได้ถึง 80%

นโยบายเริ่มที่รัฐบาล

·       ประทศอินโดนีเซียได้ดำเนินการส่งขยะพลาสติกซึ่งปะปนด้วยวัตถุมีพิษที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ คืนให้แก่ประเทศต้นทาง และในปี 2016 รัฐบาลได้ลงทุนเงินเป็นจำนวนมากเพื่อ เก็บถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว ทำให้ขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรไซเคิลได้ลดลงถึง 90%

 

แนวทางที่ประเทศไทยสามารถนำมาใช้จัดการขยะได้

·       แยกขยะให้ถูกถังโดยที่ถังสีเหลืองคือขยะที่สามารถรีไซเคิลได้เช่น ขวดพลาสติก

·       งดรับถุงพลาสติกหากซื้อของเป็นจำนวนน้อย

·       เก็บถุงพลาสติกเพื่อใช้ซ้ำ

 

 

ปัญหาขยะพลาสติกล้นเมืองนี่เป็นปัญหาระโลกเลยทีเดียว หากในประเทศมีการจัดการที่ดีย่อมมีทางออกเสมอ เพียงแค่ต้องเรียนรู้และนำมาปรับใช้อย่างเหมาะสม อย่างกรณีของประเทศไทยการจัดการปัญหาขยะพลาสติกควรเริ่มต้นที่ เราทุกคนต้องช่วยกันแยกขยะเพื่อลดการปนเปื้อนและจะเป็นผลดีต่อการนำไปรีไซเคิล